วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552
การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในโรงเรียน
โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ตั้งอยู่ที่ ต. แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ. ตาก ระยะทางจาก อ. ท่าสองยางถึงโรงเรียน 70 กิโลเมตร มีนักเรียนทั้งสิ้น 1455 คน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่เมย โรงเรียนใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโซล่าเชลล์ ชุมชนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงทั้งหมด ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในดรงเรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง กระบวนการใช้เทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศ (Information) เพื่อการ ตัดสินใจดำเนินงานใด ๆ
สารสนเทศ เป็นข้อสรุปที่ได้มาจาก กระบวนการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์ หรือ ประมวลผล สรุปได้เป็นความรู้ใหม่ ที่บ่งบอกถึง อาการ สภาพ สถานะ ของเรื่องนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ศึกษาช่วงนั้น ๆ
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้ได้ สารสนเทศเรื่องต่าง ๆ เพื่อการนำไปใช้ในการ บริหารจัดการการเรียนการสอน หรือการดำเนินงานใดๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน สารสนเทศ เกี่ยวกับนักเรียน ผลการเรียนนำไปใช้ในการ แก้ปัญหา หรือส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน เป็นต้น
การได้มาซึ่งสารสนเทศ จะได้มาโดยวิธีใด ๆ ก็ได้ ซึ่งเดิม ใช้วิธี ออกแบบสอบถาม สำรวจ สัมภาษณ์ ฯลฯ ได้ข้อมูลมาแล้ว นำมา แจงนับ วิเคราะห์ สรุป กว่าจะได้ Information มา ส่วนมาก สายไปเสียแล้ว เพราะกระบวนการแบบเดิม ต้องใช้เวลา และแรงงาน ค่อนข้างมาก
ขั้นตอนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในโรงเรียน
1.จุดประสงค์การนำคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามาใช้ในโรงเรียน
ควรจะกำหนดจุดประสงค์ไว้ 3 ประการ
1. เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ สำหรับ นักเรียน และ ครู
2. เพื่อการบริหารจัดการในโรงเรียน (ระบบบริหารทั่วไป)
3. เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ
2. สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับ
ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ บุคลากรต้องพัฒนาทั้งทักษะทางเทคโนโลยี และพัฒนาความคิด วิเคราะห์ให้เข้าใจในกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบ วิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคโนโลยี ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา
จากบริบทของโรงเรียนบ้านแม่ระเมิงที่มีข้อจำกัดเรื่องไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงควรเลือกเพียงจุดประสงค์เดียวคือ การบริหารจัดการในโรงเรียนดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง กระบวนการใช้เทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศ (Information) เพื่อการ ตัดสินใจดำเนินงานใด ๆ
สารสนเทศ เป็นข้อสรุปที่ได้มาจาก กระบวนการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์ หรือ ประมวลผล สรุปได้เป็นความรู้ใหม่ ที่บ่งบอกถึง อาการ สภาพ สถานะ ของเรื่องนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ศึกษาช่วงนั้น ๆ
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้ได้ สารสนเทศเรื่องต่าง ๆ เพื่อการนำไปใช้ในการ บริหารจัดการการเรียนการสอน หรือการดำเนินงานใดๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน สารสนเทศ เกี่ยวกับนักเรียน ผลการเรียนนำไปใช้ในการ แก้ปัญหา หรือส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน เป็นต้น
การได้มาซึ่งสารสนเทศ จะได้มาโดยวิธีใด ๆ ก็ได้ ซึ่งเดิม ใช้วิธี ออกแบบสอบถาม สำรวจ สัมภาษณ์ ฯลฯ ได้ข้อมูลมาแล้ว นำมา แจงนับ วิเคราะห์ สรุป กว่าจะได้ Information มา ส่วนมาก สายไปเสียแล้ว เพราะกระบวนการแบบเดิม ต้องใช้เวลา และแรงงาน ค่อนข้างมาก
ขั้นตอนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในโรงเรียน
1.จุดประสงค์การนำคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามาใช้ในโรงเรียน
ควรจะกำหนดจุดประสงค์ไว้ 3 ประการ
1. เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ สำหรับ นักเรียน และ ครู
2. เพื่อการบริหารจัดการในโรงเรียน (ระบบบริหารทั่วไป)
3. เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ
2. สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับ
ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ บุคลากรต้องพัฒนาทั้งทักษะทางเทคโนโลยี และพัฒนาความคิด วิเคราะห์ให้เข้าใจในกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบ วิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคโนโลยี ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา
จากบริบทของโรงเรียนบ้านแม่ระเมิงที่มีข้อจำกัดเรื่องไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงควรเลือกเพียงจุดประสงค์เดียวคือ การบริหารจัดการในโรงเรียนดังนี้
1.ด้าน Hardware
โรงเรียนจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย (LAN) ชุดหนึ่ง
มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ศูนย์ข้อมูลหรือ Server อย่างน้อย 1 ชุด และคอมพิวเตอร์ ตัวลูกอย่างน้อย 3 กลุ่ม (จำนวนนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความต้องการ)
กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหาร ทุกคน
กลุ่มที่ 2 หมวดวิชา งาน ฝ่ายต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด แนะแนว
กลุ่มที่ 3 ครูประจำชั้น หรือครูที่ปรึกษา
โรงเรียนจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย (LAN) ชุดหนึ่ง
มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ศูนย์ข้อมูลหรือ Server อย่างน้อย 1 ชุด และคอมพิวเตอร์ ตัวลูกอย่างน้อย 3 กลุ่ม (จำนวนนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความต้องการ)
กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหาร ทุกคน
กลุ่มที่ 2 หมวดวิชา งาน ฝ่ายต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด แนะแนว
กลุ่มที่ 3 ครูประจำชั้น หรือครูที่ปรึกษา
2. ด้าน Software
1.โรงเรียนจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่า การบริหาร จัดการโรงเรียน (อย่างมีระบบ มีคุณภาพ) นั้น จำเป็นต้องใช้สารสนเทศใดบ้าง
2. สร้างระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลที่ดี ต้องมีที่เดียวแก้ไขได้ที่เดียว ตามภาระงานรับผิดชอบ เช่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับความประพฤตินักเรียน อยู่ที่ฝ่ายปกครอง
- ข้อมูลประวัตินักเรียนอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ หรือ ธุรการ
- ข้อมูลผลการเรียนอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ
- ข้อมูลด้านสุขภาพอยู่ที่ฝ่ายบริการ หรือ งานอนามัยโรงเรียน เป็นต้น
ฯลฯ
3. ออกแบบ Software ให้แต่ละงานมี Software เพื่อบันทึกข้อมูลของแต่ละฝ่าย แต่ละงาน โดยไม่ซ้ำซ้อนกัน เช่น ฝ่ายปกครองบันทึกประวัตินักเรียน โดยรายชื่อนักเรียนดึงมาจากฝ่ายธุรการ(ฝ่ายปกครองแก้ไขไม่ได้ ฝ่ายธุรการแก้ไขได้ฝ่ายเดียว) ฝ่ายปกครองบันทึกเฉพาะพฤติกรรม นักเรียน ในทำนองเดียวกันฝ่ายวิชาการก็บันทึกเฉพาะข้อมูลผล การเรียน โดยใช้เลขประจำตัวเป็นตัวอ้างอิง เชื่อมโยงกับชื่อ และประวัตินักเรียน
3. ออกแบบ Software เพื่อประมวลผลผลรวม เพื่อฝ่ายบริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศ ที่ต้องการตามข้อ 1 ได้ทันที ไม่ต้องถามแต่ละฝ่าย เช่น ผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลของนักเรียน 1 คน ผู้บริหาร ระบุเลขประจำตัวนักเรียนลงไป เท่านั้นเอง ข้อมูลนักเรียนจะถูกประมูลผลขึ้นมาทันที เช่น
- ประวัติทั่วไปของนักเรียน
- ผลการเรียนของนักเรียนรายวิชาต่างๆ หน่วยการเรียนที่เรียน ที่ได้ เกรดเฉลี่ย การติด 0 ร มส.ฯลฯ
- ประวัตพฤติกรรม ความประพฤติ คะแนนพฤติกรรมคงเหลือ ฯลฯ
- ประวัติด้านสุขภาพ ด้านการ แนะแนว ฯลฯ ตามที่ออกแบบไว้
ในทำนองเดียวกัน สารสนเทศด้านอื่นๆ เช่น นักเรียนในเขตบริการ ชุมชน ฯลฯ ก็สามารถวิเคราะห์ ประมวลผล ดูได้ทันที ถ้าฐานข้อมูลแต่ละด้านมีความสมบูรณ์ มีการบริหาร จัดการให้ฐานข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันเท่านั้น
1.โรงเรียนจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่า การบริหาร จัดการโรงเรียน (อย่างมีระบบ มีคุณภาพ) นั้น จำเป็นต้องใช้สารสนเทศใดบ้าง
2. สร้างระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลที่ดี ต้องมีที่เดียวแก้ไขได้ที่เดียว ตามภาระงานรับผิดชอบ เช่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับความประพฤตินักเรียน อยู่ที่ฝ่ายปกครอง
- ข้อมูลประวัตินักเรียนอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ หรือ ธุรการ
- ข้อมูลผลการเรียนอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ
- ข้อมูลด้านสุขภาพอยู่ที่ฝ่ายบริการ หรือ งานอนามัยโรงเรียน เป็นต้น
ฯลฯ
3. ออกแบบ Software ให้แต่ละงานมี Software เพื่อบันทึกข้อมูลของแต่ละฝ่าย แต่ละงาน โดยไม่ซ้ำซ้อนกัน เช่น ฝ่ายปกครองบันทึกประวัตินักเรียน โดยรายชื่อนักเรียนดึงมาจากฝ่ายธุรการ(ฝ่ายปกครองแก้ไขไม่ได้ ฝ่ายธุรการแก้ไขได้ฝ่ายเดียว) ฝ่ายปกครองบันทึกเฉพาะพฤติกรรม นักเรียน ในทำนองเดียวกันฝ่ายวิชาการก็บันทึกเฉพาะข้อมูลผล การเรียน โดยใช้เลขประจำตัวเป็นตัวอ้างอิง เชื่อมโยงกับชื่อ และประวัตินักเรียน
3. ออกแบบ Software เพื่อประมวลผลผลรวม เพื่อฝ่ายบริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศ ที่ต้องการตามข้อ 1 ได้ทันที ไม่ต้องถามแต่ละฝ่าย เช่น ผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลของนักเรียน 1 คน ผู้บริหาร ระบุเลขประจำตัวนักเรียนลงไป เท่านั้นเอง ข้อมูลนักเรียนจะถูกประมูลผลขึ้นมาทันที เช่น
- ประวัติทั่วไปของนักเรียน
- ผลการเรียนของนักเรียนรายวิชาต่างๆ หน่วยการเรียนที่เรียน ที่ได้ เกรดเฉลี่ย การติด 0 ร มส.ฯลฯ
- ประวัตพฤติกรรม ความประพฤติ คะแนนพฤติกรรมคงเหลือ ฯลฯ
- ประวัติด้านสุขภาพ ด้านการ แนะแนว ฯลฯ ตามที่ออกแบบไว้
ในทำนองเดียวกัน สารสนเทศด้านอื่นๆ เช่น นักเรียนในเขตบริการ ชุมชน ฯลฯ ก็สามารถวิเคราะห์ ประมวลผล ดูได้ทันที ถ้าฐานข้อมูลแต่ละด้านมีความสมบูรณ์ มีการบริหาร จัดการให้ฐานข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันเท่านั้น
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนบ้านแม่ระเมิงสาขาตะพิเดอ
1. ประวัติโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง สาขาตะพิเดอ
โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง สาขาบ้านตะพิเดอ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตะพิเดอ หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2542 โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง ชาวบ้านตะพิเดอ และชาวบ้านไกล้เคียง เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2542 มีนักเรียนครั้งแรก 26 คน ข้าราชการครูจำนวน 1 คน และเปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2543 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2544 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2545 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2546 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2547 ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 49 คน ข้าราชการครู 1 คน ชึ่งเป็นข้าราชการครูจากโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง และครูผู้ช่วยจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง 1 คน
ในปีการศึกษา 2542 โรงเรียนได้รับการอนุมัติก่อสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 2 ห้องเรียน และได้รับการสนับสนุนอาคารเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียนลักษณะอาคารทั้ง 2 หลัง โครงสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงสังกะสี พื้นปูน ฝาผนังใช้ไม้ไผ่ และใช้ไม้เนื้อแข็งทำโต๊ะและเก้าอี้ บ้านพักครูยังไม่มีครูต้องไปอาศัยอยู่ที่บ้านของชาวบ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2543 ทางชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้นจึงช่วยกันสร้างบ้านพักครูขึ้นมาโดยอาศัยแรงงานจากชาวบ้าน ลักษณะโครงสร้างสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งหลังคามุงสังกะสีใช้ไม้ไผ่ปูพื้นและทำผนัง
โรงเรียนไม่มีโรงอาหารต้องใช้บางส่วนของบ้านพักครูในการประกอบอาหารกลางวัน และใช้ห้องเรียนเป็นสถานที่รับประทานอาหารกลางวัน มีห้องส้วมของโรงเรียนเป็นห้องส้วมขนาด 2 ที่นั่ง ผนังเป็นอิฐหลังคามุงกระเบื้อง แบ่งเป็นห้องส้วมชายและหญิง
อาคารอื่นๆ มีอาคารควบคุมระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 ห้อง ได้แก่ ห้องควบคุมระบบ และห้องแบตเตอรี่ ทางโรงเรียนได้ใช้บางส่วนของห้องเก็บสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนบางชนิดเนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีห้องสื่อและอุปกรณ์การเรียน
พื้นที่บริการของโรงเรียนครอบคลุมพื้นที่ หมู่บ้านตะพิเดอ และหมู่บ้านไกล้เคียง ซึ่งเด็กจากหมู่บ้านไกล้เคียงเดินทางด้วยเท้ามาเรียนในเย็นวันอาทิตย์โดยพักอาศัยอยู่กับญาติและเดินทางกลับบ้านในตอนเย็นของวันศุกร์
การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเน้นการจัดกิจกรรมแบบรวมชั้นและบูรณาการรายวิชาเนื่องจาก
บุคลากรมีน้อยไม่เพียงพอกับชั้นเรียนและจำนวนนักเรียนในบางระดับชั้นมีน้อยจึงจัดเป็นห้องเดียวกันและสอนแบบบูรณาการในบางรายวิชาที่มีเนื้อหาไกล้เคียงกัน
โรงเรียนบ้านแม่ระเมิงสาขาตะพิเดอ
1. ประวัติโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง สาขาตะพิเดอ
โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง สาขาบ้านตะพิเดอ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตะพิเดอ หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2542 โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง ชาวบ้านตะพิเดอ และชาวบ้านไกล้เคียง เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2542 มีนักเรียนครั้งแรก 26 คน ข้าราชการครูจำนวน 1 คน และเปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2543 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2544 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2545 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2546 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2547 ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 49 คน ข้าราชการครู 1 คน ชึ่งเป็นข้าราชการครูจากโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง และครูผู้ช่วยจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง 1 คน
ในปีการศึกษา 2542 โรงเรียนได้รับการอนุมัติก่อสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 2 ห้องเรียน และได้รับการสนับสนุนอาคารเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียนลักษณะอาคารทั้ง 2 หลัง โครงสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงสังกะสี พื้นปูน ฝาผนังใช้ไม้ไผ่ และใช้ไม้เนื้อแข็งทำโต๊ะและเก้าอี้ บ้านพักครูยังไม่มีครูต้องไปอาศัยอยู่ที่บ้านของชาวบ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2543 ทางชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้นจึงช่วยกันสร้างบ้านพักครูขึ้นมาโดยอาศัยแรงงานจากชาวบ้าน ลักษณะโครงสร้างสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งหลังคามุงสังกะสีใช้ไม้ไผ่ปูพื้นและทำผนัง
โรงเรียนไม่มีโรงอาหารต้องใช้บางส่วนของบ้านพักครูในการประกอบอาหารกลางวัน และใช้ห้องเรียนเป็นสถานที่รับประทานอาหารกลางวัน มีห้องส้วมของโรงเรียนเป็นห้องส้วมขนาด 2 ที่นั่ง ผนังเป็นอิฐหลังคามุงกระเบื้อง แบ่งเป็นห้องส้วมชายและหญิง
อาคารอื่นๆ มีอาคารควบคุมระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 ห้อง ได้แก่ ห้องควบคุมระบบ และห้องแบตเตอรี่ ทางโรงเรียนได้ใช้บางส่วนของห้องเก็บสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนบางชนิดเนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีห้องสื่อและอุปกรณ์การเรียน
พื้นที่บริการของโรงเรียนครอบคลุมพื้นที่ หมู่บ้านตะพิเดอ และหมู่บ้านไกล้เคียง ซึ่งเด็กจากหมู่บ้านไกล้เคียงเดินทางด้วยเท้ามาเรียนในเย็นวันอาทิตย์โดยพักอาศัยอยู่กับญาติและเดินทางกลับบ้านในตอนเย็นของวันศุกร์
การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเน้นการจัดกิจกรรมแบบรวมชั้นและบูรณาการรายวิชาเนื่องจาก
บุคลากรมีน้อยไม่เพียงพอกับชั้นเรียนและจำนวนนักเรียนในบางระดับชั้นมีน้อยจึงจัดเป็นห้องเดียวกันและสอนแบบบูรณาการในบางรายวิชาที่มีเนื้อหาไกล้เคียงกัน
วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)